การวางแบบระบบแลกเปลียนคูปองชุมชน

บทความต่อไปนี้ จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญต่างๆบางประเด็น ซึ่งผู้ก่อตั้งระบบเงินตราชุมชนอาจใคร่นำไปพิจารณาและเตรียมการดำเนินงาน บางประเด็นที่บรรยายไว้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในบางสถานการณ์ ในขณะที่ประเด็นอื่นๆที่ได้ละไว้อาจต้องนำไปพิจารณา

  1. พื้นฐานของระบบ
  2. วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร

    ระบบนี้มุ่งไปในทางใด สร้างความหลากหลายให้แก่เศรษฐกิจของท้องถิ่น เสริมสร้างสังคมให้เป็นปึกแผ่น หรือให้ความรู้แก่สมาชิกของชุมชน เราจะใช้ดรรชนีใดวัดความสำเร็จของระบบ

    ใครคือ ‘ชุมชน’ ใครมิใช่ ‘ชุมชน’

    ชุมชนนั้นสามารถกำหนดได้โดยไม่เพียงแต่จะใช้อาณาเขตทางภูมิศาสตร์เท่านั้น ความผูกพันทางสังคมและทางเศรษฐกิจก็สามารถเป็นตัวกำหนดได้เช่นกัน

    คุณสมบัติในการเข้าเป็นสมาชิกมีอะไรบ้าง

    สมาชิกจะเข้าร่วมในลักษณะใด เป็นรายบุคคล เป็นครัวเรือน หรือเป็นองค์กร เด็กจะเป็นสมาชิกได้หรือไม่ มีค่าธรรมเนียมในการเข้าเป็นสมาชิกหรือไม่ ข้อตกลงระหว่างผู้ถือบัญชี ( รายละเอียดกล่าวไว้ในหัวข้อที่ 6 ) อาจเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน

  3. คูปอง
  4. ถึงแม้ว่าการออกแบบคูปองนั้นหากกระทำในช่วงสุดท้ายของกระบวนการปฎิบัติงานนั้นจะดูสมเหตุผลกว่า แต่เราก็ไม่ควรจะมองข้ามความสำคัญทางด้านจิตวิทยาของคูปอง ในฐานะสิ่งระดมจิตใจของชุมชน

    คูปองนี้จะมีมูลค่าเทียบเท่ากับ 1 หน่วยเงินตราของประเทศหรือไม่

    มีข้อโต้แเย้งแตกต่างกันไปถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้มาตรฐานดังกล่าว ระบบทั่วโลกนั้นมีวิธีกำหนดมูลค่าคูปองหลายวิธี ผูกมูลค่าคูปองเข้ากับเงินตราประเทศบ้าง กำหนดให้คูปองมีมูลค่าเท่ากับหนึ่งชั่วโมงงานบ้าง หรือกำหนดให้คูปองมีมูลค่าในตัวเองโดยไม่เทียบเท่ากับมาตรฐานใดๆบ้าง คณะกรรมการเตรียมการดำเนินงานควรจะหารือกันถึงข้อโต้แย้งเหล่านี้ และตัดสินใจตามความเหมาะสมกับสภาวะการณ์ในท้องถิ่น

    คูปองควรจะชื่ออะไร

    ถ้าจะให้ดีที่สุด ชื่อคูปองควรจะมาจากสิ่งคุ้นเคย ซึ่งสร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจให้แก่สมาชิกของชุมชน

    คูปองควรจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร

    คูปองควรจะมีขนาดใกล้เคียง ( แต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว ) กับเงินตราของประเทศ และพกใส่กระเป๋าสตางค์ได้สะดวก มีรูปแบบเป็นการเป็นงาน และน่าจะมีภาพของพืชพรรณ สัตว์ หรือผู้คนภายในท้องถิ่นมาประกอบด้วย

    วิธีการป้องกันการปลอมแปลงคูปองนั้นมีอะไรบ้าง

    คูปองซึ่งพิมพ์หลากสีบนกระดาษที่มีเนื้อเยื่อมากนั้นจะปลอมได้ยากกว่า ควรกำกับเลขหมายกำกับบนคูปองที่พิมพ์เสร็จแล้ว โดยมีพยานในขณะกำกับเพื่อรับรองความโปร่งใส ตัวเลขน้อยๆจะดีกว่า เพื่อมิให้สมาชิกชุมชนที่ใช้คูปองหวั่นเกรงว่าจะมีคูปองออกใช้ในชุมชนอย่างไม่จำกัดจำนวน ( คูปองชุดที่พิมพ์เป็นครั้งแรกหรือมีเลขหมายเป็นมงคลนั้นสามารถเก็บไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆเพื่อระดมทุนได้ ) นอกจากนี้ ขณะมอบคูปองให้แก่สมาชิกชุมชนนั้น อาจมีการประทับวันที่และลงนามกำกับโดยเหรัญญิก สีตราวันที่นั้นอาจเปลี่ยนไปทุกๆเดือนเพื่อเป็นหลักประกันเสริมต่อการปลอมแปลงคูปอง

    จะต้องมีการตัดสินใจว่าจะจัดพิมพ์คูปองเหล่านี้ในหน่วยใดบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด หน่วยคูปองไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบของหน่วยเงินตราประเทศ เพราะคูปองเหล่านี้เป็นสมบัติของชุมชน หลังจากการพิมพ์เบื้องต้น ควรจะมีการทดสอบความคงทนของคูปอง โดยนำคูปองจำนวนหนึ่งไปทดสอบ ‘ ซักรีด ’ แน่นอนว่าธนบัตรที่สึกหรอจนเกินใช้ ขาด หรือสียหายด้วยเหตุใดก็ตาม จะสามารถนำไปแลกเป็นธนบัตรใบใหม่ได้ที่ธนาคารคูปอง (ตราบเท่าที่เลขกำกับธนบัตรนั้นยังชัดเจน )

    ควรบันทึกการจัดสรรคูปอง เพื่อให้สมาชิกชุมชนได้เห็นว่ามีการผลิตคูปองเป็นจำนวนเท่าใด ออกใช้เป็นจำนวนเท่าใด และออกให้แก่ผู้ใดบ้าง อันจะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงความแคลงใจในอนาคตว่าคณะกรรมการบริหารกระทำการทุจริต

  5. โครงสร้างขององค์กร
  6. กรรมการจากคณะกรรมการเตรียมการดำเนินงานชุดเดิม หรือสมาชิกอื่นๆของชุมชนก็ได้ ควรจัดตั้งคณะกรรมการบริหารระบบคูปอง โดยจะต้องตัดสินใจว่าตำแหน่งเหล่านี้จะเป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งหรือการอาสาสมัคร จะเป็นตำแหน่งถาวรหรือหมุนเวียน ค่าตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นคูปองชุมชน หรือเงินตราประเทศนั้น จำเป็นหรือไม่ ตำแหน่งคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือผู้ตรวจสอบอาจมีความจำเป็น แต่ไม่เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการเตรียมการดำเนินงาน

    บทบาทของคณะผู้บริหารบริหารระบบอาจรวมถึง

    เจ้าหน้าที่จัดการระบบเป็นผู้รับผิดชอบให้ปฏิบัติการของระบบทั้งระบบสัมฤทธิ์ผล โดยหารือกับคณะกรรมการบริหารนั้น …

    ตามปกติแล้ว ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งอาสาสมัคร ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งควรเป็นสมาขิกที่ชุมชนเคารพ

    เจ้าหน้าที่ประสานงานการบันทึก มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทั้งบัญชีย่อยของแต่ละสมาชิกและยอดคงเหลือในบัญชีรวมของระบบ

    เจ้าหน้าที่ประสานงานการบันทึกนี้จะเป็นอาสาสมัครหรือรับค่าตอบแทนเป็นคูปองชุมชนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของสมาชิกและค่าธรรมเนียมที่สามารถจัดเก็บได้

    เจ้าหน้าที่พัฒนาระบบ มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้ระบบแข็งแกร่งโดย

    ในระยะเริ่มต้น การว่าจ้างบุคลากรเพื่อปฎิบัติงานในตำแหน่งนี้อย่างเต็มเวลาอาจสนองความต้องการได้ดีกว่า เมื่อระบบมีแรงผลักดันมากขึ้น ภาระของเจ้าหน้าที่พัฒนาก็น่าจะลดลงได้

    ผู้จัดการส่งเสริม เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำสื่อและจัดงาน เพื่อส่งข่าวสารต่างๆให้แก่สมาชิก และ กระตุ้นให้สมาชิกมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับปฏิบัติการของระบบคูปอง

     

    หน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องนั้นรวมถึง

    โดยทั่วไปแล้วตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งอาสาสมัคร ซึ่งสามารถดำเนินงานได้โดยเจ้าหน้าที่คนเดียวหรือเจ้าหน้าที่กลุ่มเล็กๆ

  7. ธนาคารคูปอง
  8. ธนาคารคูปองนี้ต้องการอะไรบ้างทางกาย

    ธนาคารจะตั้งอยู่ที่ไหน จะเปิดทำการในเวลาใด เปิดทุกวัน หรือเดือนละครั้ง จะมีสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิกหรือไม่ ต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง ( ตู้เอกสาร, คอมพิวเตอร์, ตู้นิรภัย, สมุดบัญชี, กระดาษ, ซองจดหมาย, ตรายาง, ฯลฯ ) สมุดบัญชีเพื่อบันทึกการฝากและถอน รวมทั้งใบฝากและใบถอนคูปอง อาจเป็นสิ่งจำเป็น

    ธนาคารมีนโยบายอะไรบ้าง

    ธนาคารคูปองทุกแห่งควรมีนโยบายหลักว่าจะไม่เก็บดอกเบี้ยคูปองกู้หรือให้ดอกเบี้ยคูปองฝาก แต่จำนวนคูปองที่ให้กู้ยืม หรือฝากนั้นมีจำกัดหรือไม่ ควรมีการหารือกันเกี่ยวกับปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดภาวะคูปองเฟ้อด้วย ภาวะเฟ้อ ในระบบคูปองชุมชนนั้น หมายถึงการที่ชุมชนมีคูปองมากเกินกำลังใช้จ่ายของสมาชิก เราจะควบคุมและหลีกเลี่ยงภาวะการณ์นี้ได้อย่างไร เราควรจะจัดการกับสมาชิกที่มีบัญชีติดลบหรือบวกจนเกินไปหรือไม่ อย่างไร เราจะทำอย่างไรเมื่อสมาชิกลาออกจากระบบ ในบางระบบสมาชิกจะต้องชำระหนี้คั่งค้างเป็นเงินตราประเทศ

     

    เราจะบริหารการบัญชีอย่างไร

    การที่ระบบไม่มีดอกเบี้ยนั้น ทำให้การบัญชีในระบบคูปองไม่ซับซ้อน และโปร่งใส เมื่อถอนคูปอง จะมีการกรอกแบบฟอร์มถอน ( ควรจะมีสำเนาด้วย ) มีการลงบันทึกคูปองที่ออกไปในแผ่นบันทึกการจัดสรรคูปอง (โปรดดูรายละเอียดข้างต้น) และในสมุดบัญชีของสมาชิก เราจะดำเนินการกลับกันเมื่อมีการฝากคูปอง (โปรดสังเกตว่าสมาชิกสามารถค้าขายได้โดยไม่ต้องใช้ตัวคูปองเลย เพียงแค่ลดจำนวนคูปองในบัญชีของผู้รับสินค้า/การบริการ และเพิ่มคูปองจำนวนเท่ากันในบัญชีของผู้ให้บริการ/สินค้าเท่านั้น ) ควรจะมีการสรุปยอดบัญชีของทั้งระบบทุกๆรอบระยะเวลาบัญชี

    ควรแจ้งสมาชิกล่วงหน้าก่อนหักค่าใช้จ่ายทางธุรการใดๆจากบัญชี ในระบบเงินตราชุมชนส่วนใหญ่นั้นสมาชิกสามารถขอดูบัญชีของระบบได้ทุกเมื่อ มีการควบคุมทางสังคมอย่างใดบ้างสามารถป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นในชุมชนของเรา

  9. ประเด็นอื่นๆ
  10. เราจะใช้กลไกใดในการ ระงับข้อขัดแย้งระหว่างคณะผู้บริหารระบบกับสมาชิก หรือระหว่างสมาชิกกับสมาชิก

    บางระบบอาจจะพบว่าการแต่งตั้ง กรรมการพิเศษขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการประนีประนอมนั้นสามารถช่วยเหลือได้

    ในกรณีที่ผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถยุติข้อขัดแย้งระหว่างกันได้

    กองทุนฉุกเฉินนั้นจำเป็นหรือไม่

    หากภาวะคูปองเฟ้อจนเลยเถิด การทุจริต หรือเหตุอื่นใดก็ตาม ส่งผลให้สมาชิกขาดความมั่นใจในระบบแล้ว จะมีการชดเชยให้แก่สมาชิกผู้มีคูปองค้างในครอบครองหรือไม่ เราจะคงไว้ซึ่งความโปร่งใสและเป็นธรรมเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร

    สิ่งใดบ้างที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต

    คณะกรรมการเตรียมการดำเนินงานควรหารือกันถึงบทบาทและศักยภาพของระบบในอนาคต เราจะเพิ่มประเภทของสินค้าและการบริการที่ผลิตในท้องถิ่นได้หรือไม่ เราจะแยกการศึกษาและการรักษาพยาบาลออกจากระบบซื้อ-ขาย ได้อย่างไร เราจะนำเอา รายรับ หลักเช่นค่าเช่า เงินเดือน หรือภาษีมารวมเข้าไว้ในระบบได้อย่างไร ที่ชุมชนอิตาคา ( Ithaca ) ณ กรุงนิวยอร์ค สหภาพสินเชื่อของท้องถิ่นชื่อ อัลเทอร์เนทีฟ (Alternative) นั้น ยินยอมให้ลูกค้าชำระดอกเบี้ยเงินกู้เป็นคูปองชั่วโมงได้

  11. ข้อตกลงระหว่างผู้ถือบัญชี
  12. ข้อตกลงระหว่างผู้ถือบัญชี อาจรวมถึงใจความดังต่อไปนี้คือ

    • แถลงการณ์เกี่ยวกับหลักการดำเนินงานหรือวัตถุประสงค์ของระบบ
    • การกำหนดราคาและคุณภาพของสินค้าในการซื้อขายจะอยู่ในความรับผิดชอบของสมาชิกทั้งหมด มิใช่ระบบหรือผู้บริหาร
    • สมาชิกจะเป็นผู้รับผิดชอบหากคูปองสูญหายหรือถูกลักขโมยไป ส่วนคูปองที่เสียหายจะสามารถนำไปเปลี่ยนเป็นคูปองใหม่ได้ที่ธนาคารคูปอง ทั้งนี้คูปองจะต้องมีเลขกำกับยังที่ชัดเจน
    • สมาชิกได้เห็นพ้องกันว่าเจ้าหน้าที่ประสานงานการบันทึกจะเป็นผู้เก็บบันทึกข้อมูลใน บัญชีของสมาชิก หากเกิดข้อผิดพลาดสมาชิกจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีขณะรับ-ส่งคูปอง
    • ร่างกลไกในการยุติข้อขัดแย้ง ทั้งระหว่างสมาชิกกับสมาชิก และสมาชิกกับคณะผู้บริหาร กำหนดกระบวนการเพิกถอนการเป็นสมาชิก
    • ขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้คั่งค้าง หากสมาชิกลาออกจากระบบไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
    • ผู้ประสานงานการบันทึก จะโอนคูปองจากบัญชีของสมาชิกรายหนึ่งไปยังบัญชีของสมาชิกอีกรายหนึ่งต่อเมื่อได้รับมอบอำนาจจากสมาชิกผู้สั่งจ่ายเท่านั้น
    • ผู้ประสานงานการบันทึกมีอำนาจจัดเก็บค่าธรรมเนียมธุรการจากบัญชีของสมาชิก ตามจำนวนที่ตกลงกันในการประชุมสามัญของสมาชิก
    • ผู้ถือบัญชีมีสิทธิ ที่จะทราบถึงยอดคงเหลือในบัญชีและปริมาณการค้าของผู้ถือบัญชีรายอื่นได้ หากต้องการ
    • แถลงการณ์ เกี่ยวกับมูลค่าของคูปอง และกระบวนการปรับเปลี่ยนมูลค่าของคูปองถ้าจำเป็น

     

    ชื่อ………………………………… ลงชื่อ………………………………

    ที่อยู่………………………………. วันที………………………………..